พระราชกรณียกิจ

ด้านการประชาสงเคราะห์
พระราชทานข้าว

หุ่นจำลองแสดงถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ. ๒๔๖๐  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่เข้ามารับข้าวสารที่ท่าน้ำพระตำหนักเขียว วังสระปทุม

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ามีน้ำพระราชหฤทัยเมตตาเป็นที่ยิ่ง ได้พระราชทานพระราชานุเคราะห์แก่ผู้ยากไร้เป็นการพระราชกุศลมิได้ขาด เมื่อครั้งเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. ๒๔๖๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำข้าวสารที่วังสระปทุมมีอยู่ ออกแจกจ่ายแก่ประชาชน ที่ขาดแคลน ประชาชนพายเรือมารับข้าวสารพระราชทานจนแน่นคลองแสนแสบ

นอกจากนั้น ยังโปรดเกล้าฯ ให้ขุดบ่อน้ำ สระน้ำ ให้ประชาชนในชนบทมีน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคด้วย
DB_L0337

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงสร้างท่อน้ำพระราชทานแก่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘

 

ด้านการต่างประเทศ
บุโรพุทโธ ชวา

เสด็จฯ เยือนบุโรพุทโธ เกาะชวา
ประเทศอินโดนีเซีย

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรอบรู้กิจการ และขนบธรรมเนียม ราชประเพณี ในราชสำนักเป็นอย่างดี เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเป็นพระอัครมเหสี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จออกทรงรับพระราชอาคันตุกะด้วย

นครวัด

เสด็จฯ เยือนกัมพูชา

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงมีโอกาสได้โดยเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ อยู่เสมอ ทรงเป็นพระบรมวงศ์ฝ่ายในรุ่นแรกที่ได้โดยเสด็จไปยังต่างประเทศเช่น มลายู สิงคโปร์ ชวา เมื่อจะเสด็จฯ ไปยังแห่งใด โปรดให้เตรียมสิ่งของและพระราชทรัพย์สำหรับพระราชทานสถานสงเคราะห์ วัด หรือการสาธารณะของประเทศที่เสด็จฯ ไปเยือนด้วย

เมื่อครั้งประเทศไทยเกิดกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๔๓๖ หรือ ร.ศ. ๑๑๒ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์เป็นจำนวนมาก สมทบเป็นเงินค่าชดใช้ความเสียหายหรือค่าปรับให้แก่ประเทศฝรั่งเศสด้วย

 

ด้านการศาสนา
ทรงบาตร

ทรงบาตร

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าสนพระราชหฤทัยศึกษาพุทธศาสนา ทรงอ่านพระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่ และพระราชทานพระราชทรัพย์ในการจัดพิมพ์อัฏฐกถาชาดก ๑ คัมภีร์ ๑๐ เล่มสมุดพิมพ์ ทรงอุปการะและพระราชทานเลี้ยงกรรมการตรวจข้อสอบธรรมและบาลีในการสอบปริยัติธรรม ณ ท้องสนามหลวงอยู่เสมอ6

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงศรัทธาในการบุญ ทรงศีลทรงธรรมเป็นประจำ โปรดเกล้าฯ ให้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณรทุกวัน ณ วังสระปทุมที่ประทับ ทรงถวายกัปปิยภัณฑ์แก่พระภิกษุ สามเณรในวัดต่างๆ และทรงถวายผ้าพระกฐินวัดหลวงและวัดราษฎร์เป็นประจำทุกปี

นอกจากนั้นแล้ว ยังพระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงกุฏิ อาคาร ในวัดต่างๆ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมในวัดปทุมวนาราม เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนพระพุทธศาสนาด้วย

 

ด้านการศึกษา
โรงเรียนราชินี

โรงเรียนราชินี

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงพระราชดำริว่าการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพและช่วยพัฒนาประเทศ ทรงส่งเสริมการศึกษาทุกระดับ ทรงสนับสนุนสตรีให้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนในระดับสูง ทรงเน้นให้ศึกษารอบด้าน ไม่เพียงแต่ความรู้ในห้องเรียน โปรดให้เรียนรู้วิชาการเรือน งานหัตถศิลป์ การดูแลสุขภาพอนามัย อบรมให้เป็นคนมีเหตุผล รู้จักมัธยัสถ์ มีกิริยามารยาทและการวางตัวที่เหมาะสม

โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ

โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ทำนุบำรุง และสนับสนุนกิจการโรงเรียนทั้งในพระนคร และภูมิภาคหลายแห่ง ได้แก่ โรงเรียนราชินี โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา โรงเรียนสหายหญิง จังหวัดสระบุรี โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประการสำคัญ ยังได้พระราชทานทุนส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาแพทย์และพยาบาลเพื่อกลับมาจะได้ช่วยพัฒนาวงการแพทย์ไทย เมื่อครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนียังทรงเป็นนางสาวสังวาลย์ ก็ทรงเป็นนักเรียนทุนพระราชทานของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าด้วย

 

ด้านการแพทย์
สภากาชาดสยาม

สภากาชาดสยาม

การสูญเสียพระราชโอรสธิดาหลายพระองค์ในช่วงเวลาต่อกัน ทำให้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกา
เจ้าทรงพระประชวร พระสุขภาพทรุดโทรมลงอย่างสภากาชาดไทยรวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใย จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า แปรพระราชฐาน ไปประทับรักษาพระองค์ที่พระตำหนักศรีราชา ขณะที่ประทับอยู่ที่ศรีราชานี้ มีพระราชดำริว่าประชาชน ในพื้นที่นั้นยังขาดแคลนสถานพยาบาลและแพทย์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสถานพยาบาลขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามสถานพยาบาลนี้ว่า โรงพยาบาลสมเด็จ ต่อมาเรียกว่า โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ปัจจุบันคือโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลแห่งนี้ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพระราชทานพระราชินูปถัมภ์มาโดยตลอด และต่อมาก็โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้สภากาชาดสยามหรือสภากาชาดไทยในปัจจุบันดูแลกิจการ

สภากาชาดสยาม

สภากาชาดสยาม

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงมีส่วนช่วยริเริ่มการจัดตั้งสภาอุณาโลมแดง หรือสภากาชาดสยาม หรือ สภากาชาดไทยในปัจจุบัน ทรงดำรงตำแหน่งสภาชนนีแห่งสภาอุณาโลมแดง ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ และทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาแห่งสภากาชาดสยาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จนเสด็จสวรรคต สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพระราชทานพระราชทรัพย์ในการทำนุบำรุงกิจการสภากาชาดไทยจนพัฒนาเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาจนทุกวันนี้

นอกจากนั้นแล้ว สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ายังทรงริเริ่มงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ตั้งแต่ยังต้องใช้เกวียนเป็นพาหนะ

บริเวณศาลาท่าน้ำ (9)

โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

ทรงสนับสนุนการจัดสร้างโรงศิริราชพยาบาลหรือโรงพยาบาลศิริราช ในปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นโรงพยาบาลหลวงแห่งแรก ทรงเป็นแรงบันดาลใจ ให้สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนก สนพระทัย และอุทิศพระชนม์ชีพเพื่อพัฒนาการแพทย์ และการสาธารณสุขไทย และทรงสนับสนุนพระราชกรณียzกิจของพระราชโอรสเกี่ยวแก่วงการแพทย์ไทย โดยเฉพาะการปรับปรุงกิจการต่างๆ ของโรงพยาบาลศิริราช